Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

การวิเคราะห์ข้อมูลการจับคู่ในการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ conditional logistic regression model

นิรันดร อินทรัตน์ 1, สมรัตน เลิศมหาฤทธิ์ 2




งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่ต้องการศึกษากับปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุการเกิดโรค รูปแบบการวิจัยอย่างหนึ่งที่นิยมใช้คือ case-control study ซึ่งเริ่มต้นจาก case ที่มีอยู่ แล้ว สุ่มกลุ่มควบคุมมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลที่จะศึกษาเป็นข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย นอกจากนั้นยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการเกิดโรคที่จะให้ผลสรุปที่ถูกต้อง ต้องมีการควบคุมปัจจัยกวนในช่วงการออกแบบการศึกษา การควบคุมปัจจัยกวนทำได้โดยการจับคู่ (match¬ing) ปัจจัยกวนที่ใช้ในการจับคู่ควรเป็นปัจจัยกวนที่มีอิทธิพลมาก การจับคู่คือการเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาในการศึกษา เพื่อให้มีลักษณะบางอย่างหรือหลายอย่างที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยกวนให้เหมือนกับกลุ่ม case ซึ่งโดยหลักๆ มีอยู่สองชนิด คือ การจับคู่เป็นรายบุคคล (individual matching) คือ การเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาเป็นชุดข้อมูลกับ case ของแต่ละคน และการจับคู่เป็นรายกลุ่ม (group matching) คือการเลือกกลุ่มควบคุมโดยให้มีการกระจายของตัวแปรที่ต้องการจับคู่เหมือนกับกลุ่มผู้ป่วย(1) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการจับคู่เป็นรายบุคคลเท่านั้น เพราะมีการใช้มากใน hospitals-based research ในกรณีที่มี case จำนวนน้อยการจับคู่แบบ 1:1 จะได้ขนาดตัวอย่างเล็ก ทำให้อำนาจการทดสอบทางสถิติต่ำ การแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยการเพิ่มจำนวนกลุ่มควบคุมให้เป็น 2, 3 หรือ 4 ซึ่งจะช่วยให้ได้ขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้นทำให้อำนาจของการทดสอบทางสถิติมีมากขึ้น ดังต่อไปนี้

      งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่ต้องการศึกษากับปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุการเกิดโรค รูปแบบการวิจัยอย่างหนึ่งที่นิยมใช้คือ case-control study ซึ่งเริ่มต้นจาก case ที่มีอยู่ แล้ว สุ่มกลุ่มควบคุมมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลที่จะศึกษาเป็นข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย นอกจากนั้นยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการเกิดโรคที่จะให้ผลสรุปที่ถูกต้อง ต้องมีการควบคุมปัจจัยกวนในช่วงการออกแบบการศึกษา การควบคุมปัจจัยกวนทำได้โดยการจับคู่ (matching) ปัจจัยกวนที่ใช้ในการจับคู่ควรเป็นปัจจัยกวนที่มีอิทธิพลมาก การจับคู่คือการเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาในการศึกษา เพื่อให้มีลักษณะบางอย่างหรือหลายอย่างที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยกวนให้เหมือนกับกลุ่ม case ซึ่งโดยหลักๆ มีอยู่สองชนิด คือ การจับคู่เป็นรายบุคคล (individual matching) คือ การเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาเป็นชุดข้อมูลกับ case ของแต่ละคน และการจับคู่เป็นรายกลุ่ม (group matching) คือการเลือกกลุ่มควบคุมโดยให้มีการกระจายของตัวแปรที่ต้องการจับคู่เหมือนกับกลุ่มผู้ป่วย(1) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการจับคู่เป็นรายบุคคลเท่านั้น เพราะมีการใช้มากใน hospitals-based research ในกรณีที่มี case จำนวนน้อยการจับคู่แบบ 1:1 จะได้ขนาดตัวอย่างเล็ก ทำให้อำนาจการทดสอบทางสถิติต่ำ การแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยการเพิ่มจำนวนกลุ่มควบคุมให้เป็น 2, 3 หรือ 4 ซึ่งจะช่วยให้ได้ขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้นทำให้อำนาจของการทดสอบทางสถิติมีมากขึ้น ดังต่อไปนี้

การจับคู่แบบ 1:1
      การจับคู่ประเภทนี้จะใช้ case หนึ่งรายต่อกลุ่มควบคุมหนึ่งราย อย่างเช่น การศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับการเป็นโรคที่มีเพศและอายุเป็นปัจจัยกวน การจับคู่จะทำโดยการเลือกกลุ่มควบคุมที่มีเพศเดียวกันและอายุเท่ากันกับ case เช่น case เป็นเพศชาย อายุ 25 ปี กลุ่มควบคุมก็จะเป็นเพศชาย อายุ 25 ปีเช่นเดียวกัน เรียกว่า matched pair ซึ่งจะมีรูปแบบการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control แต่ละคู่ 4 ชนิดดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1. การสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ของแต่ละคู่ ในการจับคู่แบบ 1:1


      โดยให้ +E แทนการสัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ -E แทนการไม่ได้สัมผัสปัจจัยเสี่ยง เมื่อทำการจับคู่แต่ละคู่จะมีลักษณะของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างกันทั้งหมด 4 รูปแบบจากนั้นก็จะแจงนับจำนวนคู่ที่มีลักษณะเหมือนกันลงในตารางที่ 2 โดยที่คู่ที่มีลักษณะดังชนิดที่ 1 คือทั้ง case และ control สัมผัสปัจจัยเสี่ยง นับลงในช่อง a, ชนิดที่ 2 คือ case สัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ control ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง นับลงในช่อง b, ชนิดที่ 3 คือ case ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ control สัมผัส ปัจจัยเสี่ยง นับลงในช่อง c, ชนิดที่ 4 คือทั้ง case และ control ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง นับลงช่อง d

ตารางที่ 2. การแจกแจงความถี่ของการจับคู่แบบ 1:1

 

      การวิเคราะห์ข้อมูลการจับคู่แบบ 1:1 จะใช้การวิเคราะห์แบบ stratified analysis และแบบ McNemar’s analysis(3-6) ตัวอย่างเช่น(6) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง maternal smoking กับ low birth weight โดยเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมเป็น case และเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัมเป็น control ทำการจับคู่กันด้วยตัวแปร prepregnancy weight (Ppwt) ดังตัวอย่างชุดข้อมูลในตารางที่ 3 นั้นคือ case กับ control แต่ละคู่จะมี prepregnancy weight เหมือนกัน จากนั้นก็จะนับจำนวนการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ตามรูปแบบตารางที่ 1 ลงในตารางที่ 2 จะได้ดังตารางที่ 4

การจับคู่แบบ 1: M (multiple control per case)
       รูปแบบการจับคู่ 1:M (เมื่อ M มากกว่าหนึ่ง) จะคล้ายกับการจับคู่แบบ 1:1 โดยในแต่ละชุด
ตารางที่ 3. ตัวอย่างชุดข้อมูลของการจับคู่แบบ 1:1

        ข้อมูลจะมีอัตราส่วนของ control ต่อ case มากกว่าหนึ่ง โดยอาจมีอัตราส่วน case: control เป็น 1:2, 1:3, 1:4 หรือ 1:5 ตัวอย่างเช่น การใช้ case: control เป็น 1:2 จะได้รูปแบบการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ทั้งหมด 6 ชนิดดังตารางที่ 5 จากนั้นแจงนับความถี่ของข้อมูลแต่ละชนิดลงในตารางที่ 6โดยที่ชุดข้อมูลที่มีลักษณะดังชนิดที่ 1 คือมี case และ control สัมผัสปัจจัยเสี่ยงนับลงในช่อง n12, ชนิดที่ 2 มี case สัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ control สัมผัสปัจจัยเสี่ยงหนึ่งราย ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยงอีกหนึ่งราย นับลงในช่อง n11, ชนิดที่ 3 มี case สัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ control ทั้งสองไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง นับลงในช่อง n10, ชนิดที่ 4 มี case ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง และ control สัมผัสปัจจัยเสี่ยง ทั้งสองราย นับลงช่อง n02, ชนิดที่ 5 มี case ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยงและมี   control   สัมผัสปัจจัยเสี่ยงหนึ่งราย ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง หนึ่งราย นับลงในช่อง n01, ชนิดที่ 6 ทั้ง case และ control ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง นับลงในช่อง n00

ตารางที่ 4. ตารางแจกแจงความถี่ของการจับคู่แบบ 1:1


ตารางที่ 5. รูปแบบการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ของแต่ละชุดข้อมูล ในการจับคู่แบบ 1:M


ตารางที่ 6. ตารางแจงแจงความถี่ของชุดข้อมูล (1:2)
 

        การวิเคราะห์ข้อมูลของการจับคู่แบบ 1:M จะใช้การวิเคราะห์แบบ mantel-haenszel analysis จะยกตัวอย่างของการวิเคราะห์ข้อมูลของการจับคู่แบบ 1:2(3-6) ดังนี้เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับการเป็นโรค myocardial infarction (MI) ด้วยขนาดตัวอย่าง 117 คน จำนวนชุดข้อมูล 39 ชุด โดยจะทำการจับคู่กันทั้งหมดสี่ตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยกวนของการศึกษาคือ อายุ เพศ สีผิวและลักษณะของโรงพยาบาล ดังตัวอย่างในตารางที่ 7 และ การแจงนับตามลักษณะการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ดังตารางที่ 8

ตารางที่ 7. ตัวอย่างชุดข้อมูลของ การจับคู่แบบ 1:2

ตารางที่ 8. การแจกแจงความถี่ของ การจับคู่แบบ 1:2

       เนื่องจากรูปแบบการศึกษา case-control study จะมีตัวแปรที่เป็นปัจจัยกวนมากทั้งที่เป็นธรรมชาติของมันเองและเกิดจากการจับคู่(1)  ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการควบคุมตัวแปรกวนนอกจากการจับคู่แล้ว จะใช้โมเดลทางสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถควบคุมตัวแปรกวนที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการศึกษาได้ทั้งหมด

Conditional logistic regression model
       การวิเคราะห์ข้อมูลของ matched case-control study จะใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า conditional logistic regression model ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกปรับค่า (ผลกระทบ) ของตัวแปรอื่นๆ ในโมเดลแล้ว และสามารถควบคุมตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการศึกษาได้หลายตัว โดยมีหลักการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ คือเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างหรือผลต่างของปัจจัยเสี่ยงระหว่าง case กับ control ในแต่ละคู่หรือชุดข้อมูลซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดความแตกต่างหรือผลต่างของ outcome ภายในชุดข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจะต่างจากการวิเคราะห์ด้วย logistic regression คือจะวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างกลุ่ม case กับกลุ่ม control ของข้อมูลทั้งหมด ในการประมาณค่าพารามิเตอร์จะคำนวณจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันของ case และ control ที่เรียกว่า discordant และโปรแกรมจะตัดข้อมูลที่มีการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control ที่เหมือนกันที่เรียกว่า concordant ออกจากการคำนวณ(1,3-5) 
ลักษณะโมเดลของ conditional logistic regression model จะคล้ายๆ กับ logistic regression model จะต่างกันตรงที่มีการเพิ่ม dummy variable ของตัวแปร matching เข้าไปในโมเดลดังสมการที่ 1(5)


สมการที่ 1. Conditional logistic regression model



สมการที่ 2. สูตรการประมาณค่าของ maximum likelihood


       การประมาณค่าพารามิเตอร์จะใช้วิธีการของ maximum likelihood (condition likelihood) ดังสมการที่ 2(3,4)       
       การประมาณค่าพารามิเตอร์หรือการฟิตโมเดล จะมีความความยุ่งยากมาก ยิ่งมีการเพิ่มจำนวน control ในแต่ละชุดข้อมูลมาก(5,6) การคำนวณจะมีความยุ่งยากมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงมีการนำโปรแกรมทางสถิติเข้ามาช่วยในการฟิตโมเดลอย่างเช่น STATA, SAS เป็นต้น จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลของ matched case-control study (1:2) โดยใช้โปรแกรม STATA version 8.0 (command; clogit  y x1 x2.. xn ,group(matching))  ดังนี้
      การศึกษาความสัมพันธ์การสูบบุหรี่ของผู้ป่วยที่เป็นโรค MI โดยมีขนาดตัวอย่าง 117 คน 39 ชุดข้อมูล ซึ่งทำการควบคุมตัวแปรที่คาดว่าเป็นปัจจัยกวนต่อผลการศึกษาทั้งหมด 6 ตัวแปร โดยที่สี่ตัวแปรแรกคือ อายุ เพศ สีผิวและโรงพยาบาล จะทำการควบคุมในขั้นตอนการออกแบบงานวิจัย โดยการจับคู่และอีกสองตัวแปรคือ systolic blood pressure (SBP) และ electrocardiogram (ECG) จะทำการควบคุมในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลทางสถิติ (ตัวอย่างข้อมูลในตารางที่ 7) จะได้โมเดลเริ่มต้นดังสมการที่ 3(5) และสูตรการคำนวณค่า odds ratio สมการที่ 4(5)

สมการที่ 3. โมเดลเริ่มต้นของการศึกษาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่กับการเป็นโรค MI


สมการที่ 4. สูตรคำนวณค่า odds ratio


     วิธีการฟิตโมเดลและการคัดเลือกตัวแปรจะใช้วิธีของ backward elimination ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใส่ตัวแปรที่ต้องการทดสอบทั้งหมดเข้าไปในโมเดลแล้วทำการคัดเลือกตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่มีผลต่อการวิจัยออกจากโมเดลโดยผู้วิจัย ซึ่งวิธีการนี้สามารถบังคับตัวแปรที่สำคัญไว้ในโมเดลได้ทั้งๆ ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขั้นตอนแรกเริ่มจากการประเมิน interaction เทอมที่มีอันดับสูงสุดก่อนด้วยการทดสอบ likelihood-ratio (likelihood-ratio test after estimation; command: lrtest ) พบว่า ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองเทอม (ตารางที่ 9) จึงไม่จำเป็นต้องนำเทอมดังกล่าวเข้าไปในโมเดล ขั้นตอนต่อไปเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยควบคุมตัวแปรที่เหลือ ให้อยู่ในโมเดลจะได้ค่าพารามิเตอร์ที่ถูกต้องที่สุดแต่บางครั้งค่าที่ได้จะไม่กระชับ หรือ มีค่าความแม่นยำที่ต่ำ  จึงต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีที่ไม่มี interaction เทอมซึ่งจะได้ค่า odds ratio และ ช่วงความเชื่อมั่น เป็นค่า gold standard จากนั้นก็จะหาโมเดลที่ดีที่สุดคือให้มีค่าของ OR ใกล้เคียงกับ gold standard และมีช่วงความเชื่อมั่น ที่แคบกว่าโดยการนำตัวแปรออกทีละตัว จะได้ผลดังตารางที่ 10 และโมเดลที่เหมาะสมที่สุดที่ให้ค่า odds ratio ใกล้เคียงกับค่า gold standard แต่มีช่วงค่าความเชื่อมั่นแคบกว่า ดังสมการที่ 5

ตารางที่ 9. ตัวอย่างการฟิตโมเดลเริ่มต้น โดยใช้โปรแกรม STATA version 8.0


ตารางที่ 10. ผลลัพธ์ที่ได้จากการฟิตโมเดล conditional logistic regression 
|
   
กรณีไม่มี Interaction term


สมการที่ 5. โมเดลที่เหมาะสมที่สุดในการคำนวณหาค่าปัจจัยเสี่ยง
      
       การแปลผลลัพธ์ซึ่งได้ค่า OR และ CI ที่ปรับค่าอิทธิพลของ ECG แล้วได้ค่า OR เท่ากับ 2 และ 95% CI เท่ากับ 0.74-5.70 แปลผลได้ว่า “ผู้ที่สูบบุหรี่มีผลทำให้เป็นโรค MI 2 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่และไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.167) ที่  95%CI:0.74- 5.70”
       การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้เทคนิคการจับคู่ ในการศึกษาแบบ case-control study โดยใช้ conditional logistic regression model จะมีเงื่อนไขในการวิเคราะห์ข้อมูลสองประการคือเงื่อนไขประการแรก พิจารณาเปรียบเทียบความต่างของ case กับ control ภายในชุดข้อมูลเดียวกัน และเงื่อนไขประการที่สองคือเลือกเฉพาะชุดข้อมูลที่มีลักษณะการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของ case และ control แตกต่างกัน (discordant) และในการฟิตโมเดลจะต้องนำตัวแปรที่ทำการจับคู่ (grouping variable) เข้าไปในโมเดลด้วย
       จำนวนขนาดตัวอย่างของการศึกษาแบบการจับคู่ใน case-control study จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการศึกษาหรือ power of study ได้ด้วยการเพิ่มจำนวนกลุ่มควบคุม ในชุดข้อมูลให้มีมากขึ้นเช่นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่อง benign breast disease ซึ่งมีรูปแบบการจับคู่ ด้วยอัตราส่วน case ต่อ control เป็น 1:3 จากนั้นทำการตัดข้อมูลออกเหลืออัตราส่วน 1:1 พบว่าค่า odds ratio มีค่าใกล้เคียงกัน แต่ช่วงความเชื่อมั่นของ 1:3 จะแคบกว่า 1:1 เพราะว่ามีขนาดตัวอย่างที่ใหญ่กว่าแต่เมื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มควบคุมมากเกินไป (มากกว่า 4) ประสิทธิภาพของการศึกษาจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก นอกจากนั้นแล้วจำนวนอัตราส่วนของ case ต่อ control ในการศึกษานั้นๆไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกชุดข้อมูล
     
สรุปได้ว่า
      รูปแบบงานวิจัยที่ใช้เทคนิคการจับคู่ ของตัวแปรที่มีลักษณะเป็นปัจจัยกวน จะเป็นการปรับค่าของตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อผลการศึกษาให้มีลักษณะคล้ายๆ กัน ดังนั้นตัวแปรที่นำมาจับคู่จะไม่สามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์ทางสถิติได้ เพราะมีความคล้ายคลึงกันทั้งกลุ่ม case และกลุ่มควบคุม ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สนใจจะต้องใช้โมเดลทางสถิติคือ conditional logistic regression เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ข้อมูลให้ตรงกับเงื่อนไขของเทคนิคการจับคู่ ด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
 1. ชยันตร์ธร ปทุมานนท์. ระบาดวิทยาการแพทย์.เชียงใหม่: A PHRCG Publication, 2541.
 2. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. กราฟ ตารางและสมาการ สำหรับการวิจัยทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้า, 2545.
 3. Breslow NE, Day NE. Statistical methods in cancer research, volume 1, the analysis of case-control studies. France: Lyon, International Agency for Research on Cancer, 1980.
 4. Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression. New York: Wiley, 1986.
 5. Kleinbaum DG, Kupper LL, Muller KE. Applied regression analysis and other multivariable methods, second edition. Boston: PWS-Kent Publishing Company, 1988.
 6. Steve Selvin. Statistical Analysis of Epidemiologic Data, second edition. New York: Oxford, 1996.
 

 

Untitled Document
Article Location
Volume 2 Number 1

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Sample size calculation for multiple linear regression: Testing Hypothesis and Estimation (การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล:บนพื้นฐานการทดสอบสมมติฐานและการประมาณค่า)
 
Data analysis for multi-center study: ways to handle "center"? (แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยสหสถาบัน: จัดการอย่างไรกับตัวแปร "สถาบัน"?)
 
Post hoc Power Calculation is never justified. (การคำนวณ Power หลังจากผลการวิจัยออกมาแล้ว เป็นเรื่องไม่มีเหตุผลที่จะทำ)
 
ANALYSIS of 2x2 CROSSOVER DESIGN WITH CONTINUOUS DATA (ANALYSIS of 2x2 CROSSOVER DESIGN WITH CONTINUOUS DATA)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Statistics
 
 
 
 
Copyright © 2006. Data Management & Biostatistics Journal.. All Rights Reserved
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0