|
e-journal Editor page
IS YATES CONTINUITY CORRECTION NECESSARY
FOR CHI-SQUARE
จําเป็นหรือไม่
.? ที่ไคสแควร์ ต้องใช้ค่าปรับแก้ความตอเนื่องของ Yates
Pongdech Sarakarn (พงษ์เดช สารการ) 1
|
การวิเคราะห์ไคสแควร์ในตารางการจรแบบ 2x2 ถูกนำมาใช้ค่อนข้างแพร่หลายในงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยพบว่าในกรณีที่ความถี่คาดหวังน้อยกว่า 5 จะเลือกใช้ Fishers exact test แต่เมื่อความถี่คาดหวังในเซลล์มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไปจะมีการใช้สถิติทดสอบสองวิธีคือ วิธีที่ใช้ค่าปรับแก้ความต่อเนื่องของ Yates กับวิธีไม่ปรับค่าความต่อเนื่องของเพียร์สัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้สถิติทดสอบทั้งสองในเอกสารและหนังสือทางสถิติ มีหลายอย่าง อาทิเช่น(1- 4) 1.ใช้การปรับแก้ความต่อเนื่องของ Yates เมื่อพบว่า ความถี่คาดหวัง (expected frequency)บางกลุ่มมีค่าน้อยกว่า 5 2.ใช้การปรับแก้ความต่อเนื่องของYates เมื่อ 20 ≤ n ≤ 40 และความถี่คาดหวังทุกตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 5 3.ใช้การปรับแก้ความต่อเนื่องของ Yates เมื่อมีความถี่คาดหวังในเซลล์ใดเซลล์หนึ่งอยู่ระหว่าง 5-10 4.ถ้าขนาดตัวอย่างมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ไม่จำเป็นต้องปรับค่าไคสแควร์ของเพียร์สัน ข้อเสนอแนะข้างต้นก่อให้เกิดความสับสนและข้อโต้แย้งอย่างมากในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเหตุผลหรือความจำเป็นในการตัดสินใจเลือก หรือไม่เลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงข้อผิดพลาดและข้อจำกัดของการใช้การปรับแก้ความต่อเนื่องของ Yates ในการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางการจรแบบ 2x2 การปรับแก้ความต่อเนื่องของ Yates เกิดจากแนวคิดการปรับค่าข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ให้มีความต่อเนื่อง เมื่อถูกประมาณด้วยการแจกแจงแบบต่อเนื่อง นั่นคือ(5) การแจกแจงแบบไคสแควร์เป็นการแจกแจงแบบต่อเนื่อง ส่วนข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเป็นความถี่ เมื่อนำการแจกแจงแบบไคสแควร์ไปประมาณค่าข้อมูลดังกล่าว หากข้อมูลมีขนาดใหญ่สามารถประมาณค่าได้อย่างใกล้เคียง โดยมีวิธีการคำนวณค่า ไคสแควร์จากสูตรของเพียร์สัน ดังนี้(6) . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Article Location |
Volume 1 Number 1 |
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|