|
e-journal Editor page
การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล
การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการวิจัย มิใช่เป็นการกรอกข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อรอการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น หากเป็นกระบวนการที่มีบทบาทครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มร่างโครง¬การวิจัย การเตรียมแบบบันทึกข้อมูล การวางแผนจัดเก็บข้อมูล การสร้างฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูล การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูล และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ไปจนถึงการจัดเตรียมข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ถูกต้อง พร้อมที่จะวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยเพื่อการเผยแพร่ในที่สุด นอกจากนี้ ยังอาจรวมไปถึงการบริหารจัดการตัดตอน คัดเลือกข้อมูลให้แก่ผู้ร่วมงานวิจัย หรือบุคคลภายนอกที่ร้องขอขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องในเชิงกฎหมาย หรือเชิงพาณิชย์ เหตุผลที่ต้องมีระบบการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่ เป็นเพราะเราจะพบว่า ความผิดพลาดคลาด¬เคลื่อนในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูล อาจเกิดขึ้นได้ตลอดกระบวนการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ต้นกำเนิดข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล (ผู้ป่วย/อาสา¬สมัคร) ไปจนถึง ขั้นตอนสรุปผลสุดท้ายโดยผู้วิจัย ดังแสดงในรูปที่ 1 ความผิพลาดคลาด¬เคลื่อนอาจเกิดได้จากทุกแหล่ง และตลอดทางเดินของข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลอาจไม่ตอบตามความเป็นจริง เครื่องมือตรวจวัดอาจคลาด¬เคลื่อน ผู้บันทึกข้อมูลอาจลงบันทึกค่าข้อมูลผิด ผู้วิเคราะห์ข้อมูลอาจเขียนตรรกะของโปรแกรมการวิเคราะห์ผิดพลาด หรือผู้สรุปผลการวิจัยอาจแปลผลไม่ถูกต้อง ไม่ได้ตรวจสอบข้อ¬ตกลงเบื้องต้นของวิธีการสถิติที่เลือกใช้ เป็นต้น . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Article Location |
Volume 1 Number 2 |
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|