Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

การคำนวณขนาดตัวอย่าง สำหรับงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล: บนพื้นฐานการทดสอบสมมติฐานและการประมาณค่า

กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ 1, บัณฑิต ถิ่นคำรพ 2




การคำนวณขนาดตัวอย่างเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการศึกษาวิจัย เนื่องจากถ้าขนาดตัวอย่างน้อยไปจะทำให้สรุปผลการวิจัยไม่ได้ ถ้ามากไปก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ให้ทุนจะนำมาพิจารณาก่อนให้การสนับสนุน  การคำนวณขนาดตัวอย่างของงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูลมีพื้นฐานจาก 2 แนวคิด ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ มาเกี่ยวข้องในการคำนวณขนาดตัวอย่าง เป็นการทดสอบว่าตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามหรือไม่เท่านั้น พารามิเตอร์ที่สำคัญในการคำนวณขนาดตัวอย่างคือค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจของตัวแปรอิสระทั้งหมดที่ร่วมกันทำนายตัวแปรตาม (R2) และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลงเมื่อไม่มีตัวแปรอิสระที่สนใจในตัวแบบ (R2 Change) ซึ่งที่ระดับนัยสำคัญเท่ากันเมื่อค่า R2 Change มีค่าสูงจะทำให้ได้ขนาดตัวอย่างน้อย ในส่วนของการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณค่าจะคำนึงถึงความกระชับของช่วงเชื่อมั่นของค่าประมาณเป็นหลัก โดยขึ้นอยู่กับค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (w) ที่นักวิจัยกำหนด หากกำหนดให้ w มีค่าน้อยแสดงว่าต้องการให้ค่าประมาณที่ได้มีค่วามแม่นยำ (ช่วงเชื่อมั่นกระชับ)  ซึ่งมีผลต่อการศึกษาเนื่องจากถ้าผลการศึกษาพบว่า ช่วงเชื่อมั่นของค่าประมาณของตัวแปรอิสระแต่ละตัวกว้างจะทำให้สรุปผลการศึกษาผิดพลาดหรือไม่สามารถสรุปผลการศึกษาได้เลย ซึ่งอาจเกิดจากขนาดตัวอย่างไม่เพียงพอในการตอบคำถามวิจัย โดยค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณขนาดตัวอย่างจะได้มาจากการศึกษาที่ผ่านมาหรืออาจจะประมาณการจากประสบการณ์หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ โดย Cohen (1988) ได้เสนอแนะระดับความสัมพันธ์เป็น 3 ระดับได้แก่ระดับน้อย ปานกลาง และสูง เมื่อค่า R2 มีค่าเท่ากับ เท่ากับ 0.01, 0.09 และ 0.25 ตามลำดับ หรือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.10, 0.30 และ 0.50 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างงานวิจัยที่นำเสนอในการศึกษาครั้งนี้ คำถามการวิจัยมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางการประมาณค่า ซึ่งการคำนวณขนาดตัวอย่างบนพื้นฐานของการประมาณค่ายังไม่ได้รับการขยายความหรือแพร่หลายมากนัก ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอขั้นตอนและวิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างบนพื้นฐานของการประมาณค่าเพื่อเป็นแนวทางในการนำใช้ประโยชน์ต่อไป . . . Full text.
Untitled Document
Article Location
Volume 4 Number 1

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Sample size calculation for multiple linear regression: Testing Hypothesis and Estimation (การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล:บนพื้นฐานการทดสอบสมมติฐานและการประมาณค่า)
 
Data analysis for multi-center study: ways to handle "center"? (แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยสหสถาบัน: จัดการอย่างไรกับตัวแปร "สถาบัน"?)
 
Post hoc Power Calculation is never justified. (การคำนวณ Power หลังจากผลการวิจัยออกมาแล้ว เป็นเรื่องไม่มีเหตุผลที่จะทำ)
 
ANALYSIS of 2x2 CROSSOVER DESIGN WITH CONTINUOUS DATA (ANALYSIS of 2x2 CROSSOVER DESIGN WITH CONTINUOUS DATA)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Statistics
 
 
 
 
Copyright © 2006. Data Management & Biostatistics Journal.. All Rights Reserved
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0