|
e-journal Editor page
Missing data and management
ข้อมูลสูญหายและแนวทางการจัดการ
ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี 1, สุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี 2
|
บทนำ ข้อมูลสูญหาย (missing data) เป็นกรณีที่พบได้บ่อยในงานวิจัยทุกสาขา และนักวิจัยจำเป็นต้องพิจารณาถึงแนวทางที่เหมาะสมสำหรับใช้จัดการกับข้อมูลสูญหายในทุก ๆ ครั้งที่พบกับปัญหานี้ ซึ่งวิธีการที่ใช้สำหรับจัดการกับข้อมูลสูญหายมีทางเลือกให้พิจารณาค่อนข้างหลากหลาย หากเลือกใช้วิธีจัดการกับข้อมูลสูญหายที่ไม่เหมาะสมย่อมส่งผลทำให้เกิดการบิดเบือนผลการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Wood และคณะ (2004) ที่ได้ทำการศึกษาจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร BMJ, JAMA, Lancet และ N Engl J Med จำนวน 71 ชิ้น พบว่า มีงานวิจัยถึง 89% ที่มีปัญหาเรื่องข้อมูลสูญหาย และมีเพียง 21% เท่านั้นที่มีการจัดการกับปัญหาข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการกับปัญหาข้อมูลสูญหายยังคงถูกละเลยกันอย่างเป็นปกติ แม้แต่ในงานวิจัยทางระบาดวิทยาและงานวิจัยเชิงทดลอง โดยเอกสารชิ้นนี้ต้องการเน้นย้ำถึงบทบาทความสำคัญของข้อมูลสูญหายที่มีต่องานวิจัย โดยจะกล่าวถึงแนวทางในการจัดการกับข้อมูลสูญหายอย่างคร่าว ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับจัดการกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ โดยในที่นี้จะยังไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการวิเคราะห์ต่าง ๆ
ข้อมูลสูญหาย ข้อมูลสูญหายคือค่าสังเกตที่ต้องการทราบค่าแต่ไม่สามารถทราบค่าได้ โดยที่ค่านั้นควรจะสามารถทราบค่าได้หากวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลหรือในการวัดค่ามีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือมีความเหมาะสมมากขึ้น ลองพิจารณาจากตัวอย่างของการวัดระดับความดันเลือดของเด็กในชั้นเรียนหนึ่ง ซึ่งผลจากการตรวจวัดทำให้ทราบค่าความดันเลือดของเด็กทั้งหมดว่ามีค่าอยู่ในช่วง 90 180 mm Hg ยกเว้นในเด็กหนึ่งรายที่ป่วย จึงไม่ได้มาในวันที่ทำการตรวจวัดความดันเลือด ทำให้ไม่ทราบค่าระดับความดันเลือดของเด็กผู้นี้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นค่าสูญหาย (missing value) หากจะให้กล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลสูญหายที่มีต่อการวิจัย ควรต้องมุ่งไปยังประเด็นของผลกระทบต่องานวิจัยที่เกิดจากกรณีข้อมูลสูญหาย โดยข้อมูลสูญหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ก่อผลกระทบใด ๆ ต่อผลการวิจัย หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่องานวิจัยก็ย่อมได้ ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบจากข้อมูลสูญหายอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ - ข้อมูลสูญหายสามารถทำให้เกิดการสูญเสียกำลังในการทดสอบ (power of the test) เนื่องจากขนาดตัวอย่างที่ใช้ลดลงอันเป็นผลจากการตัดข้อมูลสูญหายออกจากการศึกษา ยกตัวอย่างเช่นในตอนเริ่มต้นการศึกษา คำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมในการศึกษาเท่ากับ 300 คน แต่ภายหลังจากการรวบรวมข้อมูลปรากฏว่า ผลจากข้อมูลสูญหายทำให้กลุ่มตัวอย่างที่มีข้อมูลสมบูรณ์เหลือเพียง 250 คน หากทำการวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กลงย่อมส่งผลต่อการสูญเสียระดับความเชื่อมั่น และการเพิ่มขึ้นของความแปรผันในการศึกษา - ข้อมูลสูญหายอาจก่อให้เกิดความเอนเอียงของค่าประมาณ ยกตัวอย่างเช่น ในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หากลักษณะข้อคำถามที่ใช้เป็นคำถามที่กระทบต่อความรู้สึกได้ง่าย (sensitive question) ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการเสพสารเสพติด หรือพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่คำถามทั่ว ๆ ไปทางสังคม อย่างรายได้ต่อปี ซึ่งอาจไม่ได้รับความร่วมมือในการตอบคำถามจากหลาย ๆ คน ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่สามารถแทนลักษณะของประชากรได้ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเหล่านี้ ส่วนใหญ่อาจเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม หรือเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำมาก หรือในทางตรงกันข้ามอาจเป็นผู้ที่มีรายได้สูงมาก ทำให้ไม่ต้องการตอบคำถามเหล่านี้ - สืบเนื่องจากผลกระทบก่อนหน้านี้ ข้อมูลสูญหายก่อให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ยกตัวอย่างจากกรณีข้างต้น หากต้องการศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างรายได้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หากเกิดปัญหาในลักษณะที่ผู้ที่มีรายได้น้อยหรือมากไม่ยอมให้คำตอบเกี่ยวกับรายได้ต่อปี จะทำให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มีเพียงกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลาง หากผลการวิเคราะห์พบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างรายได้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ผลสรุปที่ได้อาจผิดพลาด เพราะในความเป็นจริงอาจมีความสัมพันธ์กันก็เป็นไปได้ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ข้อมูลสูญหายสามารถส่งผลต่อการวิจัยทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ และการสรุปผลตีความ โดยที่ระดับความรุนแรงของผลกระทบนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบจากหลายส่วน แต่ที่สำคัญก็คือ ขนาดของข้อมูลสูญหาย ประเภทของข้อมูลสูญหายที่เกิดขึ้น และวิธีการจัดการกับข้อมูลสูญหาย . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Article Location |
Volume 4 Number 3 |
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|