|
e-journal Editor page
การวิเคราะห์ข้อมูลการจับคู่ในการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ conditional logistic regression model
นิรันดร อินทรัตน์ 1, สมรัตน เลิศมหาฤทธิ์ 2
|
งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่ต้องการศึกษากับปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุการเกิดโรค รูปแบบการวิจัยอย่างหนึ่งที่นิยมใช้คือ case-control study ซึ่งเริ่มต้นจาก case ที่มีอยู่ แล้ว สุ่มกลุ่มควบคุมมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลที่จะศึกษาเป็นข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย นอกจากนั้นยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการเกิดโรคที่จะให้ผลสรุปที่ถูกต้อง ต้องมีการควบคุมปัจจัยกวนในช่วงการออกแบบการศึกษา การควบคุมปัจจัยกวนทำได้โดยการจับคู่ (match¬ing) ปัจจัยกวนที่ใช้ในการจับคู่ควรเป็นปัจจัยกวนที่มีอิทธิพลมาก การจับคู่คือการเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาในการศึกษา เพื่อให้มีลักษณะบางอย่างหรือหลายอย่างที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยกวนให้เหมือนกับกลุ่ม case ซึ่งโดยหลักๆ มีอยู่สองชนิด คือ การจับคู่เป็นรายบุคคล (individual matching) คือ การเลือกกลุ่มควบคุมเข้ามาเป็นชุดข้อมูลกับ case ของแต่ละคน และการจับคู่เป็นรายกลุ่ม (group matching) คือการเลือกกลุ่มควบคุมโดยให้มีการกระจายของตัวแปรที่ต้องการจับคู่เหมือนกับกลุ่มผู้ป่วย(1) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการจับคู่เป็นรายบุคคลเท่านั้น เพราะมีการใช้มากใน hospitals-based research ในกรณีที่มี case จำนวนน้อยการจับคู่แบบ 1:1 จะได้ขนาดตัวอย่างเล็ก ทำให้อำนาจการทดสอบทางสถิติต่ำ การแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยการเพิ่มจำนวนกลุ่มควบคุมให้เป็น 2, 3 หรือ 4 ซึ่งจะช่วยให้ได้ขนาดตัวอย่างเพิ่มขึ้นทำให้อำนาจของการทดสอบทางสถิติมีมากขึ้น ดังต่อไปนี้ . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Article Location |
Volume 2 Number 1 |
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|