การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวัดผลก่อนและหลัง
ประภัสสร เอื้อลลิตชูวงศ์1, บัณฑิต ถิ่นคำรพ2
1 บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาชีวสถิติ, 2 อาจารย์ประจำภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
การเลือกใช้สถิติที่ถูกต้อง/เหมาะสม ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง หากเลือกใช้สถิติไม่ถูกต้องจะทำให้การสรุปผลผิด นอกจากการเลือกใช้สถิติแล้วยังขึ้นอยู่กับรูปแบบของงานวิจัยอีกด้วย ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวัดผลก่อนและหลัง (before after design) ระหว่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จะมีรูปแบบการวิเคราะห์ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง, การเปรียบเทียบค่าผลต่างของข้อมูลก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หรือที่เรียกว่า Change Score, การเปรียบเทียบค่าผลต่างของข้อมูลก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือที่เรียกกันว่า Percentage Change และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม หรือที่รู้จักกันดีคือ Analysis of Covariance (ANCOVA) ซึ่งถ้ากรณีที่ก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันจะเลือกใช้รูปแบบการวิเคราะห์รูปแบบใดก็ได้ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกรณีที่ก่อนการทดลองของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันควรใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม เนื่องจากมีการปรับค่าผลกระทบด้วยการวิเคราะห์แบบ covariate adjustment โดยคำนึงถึงผลที่คาดว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อหลังการทดลอง จึงไม่ควรนำผลต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน
บทนำ . . .
Full text.
|