|
e-journal Editor page
การคำนวณขนาดตัวอย่าง
สำหรับงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล: บนพื้นฐานการทดสอบสมมติฐานและการประมาณค่า
กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ 1, บัณฑิต ถิ่นคำรพ 2
|
การคำนวณขนาดตัวอย่างเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการศึกษาวิจัย เนื่องจากถ้าขนาดตัวอย่างน้อยไปจะทำให้สรุปผลการวิจัยไม่ได้ ถ้ามากไปก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ให้ทุนจะนำมาพิจารณาก่อนให้การสนับสนุน การคำนวณขนาดตัวอย่างของงานวิจัยที่ใช้ตัวแบบการถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูลมีพื้นฐานจาก 2 แนวคิด ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ มาเกี่ยวข้องในการคำนวณขนาดตัวอย่าง เป็นการทดสอบว่าตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามหรือไม่เท่านั้น พารามิเตอร์ที่สำคัญในการคำนวณขนาดตัวอย่างคือค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจของตัวแปรอิสระทั้งหมดที่ร่วมกันทำนายตัวแปรตาม (R2) และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลงเมื่อไม่มีตัวแปรอิสระที่สนใจในตัวแบบ (R2 Change) ซึ่งที่ระดับนัยสำคัญเท่ากันเมื่อค่า R2 Change มีค่าสูงจะทำให้ได้ขนาดตัวอย่างน้อย ในส่วนของการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณค่าจะคำนึงถึงความกระชับของช่วงเชื่อมั่นของค่าประมาณเป็นหลัก โดยขึ้นอยู่กับค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (w) ที่นักวิจัยกำหนด หากกำหนดให้ w มีค่าน้อยแสดงว่าต้องการให้ค่าประมาณที่ได้มีค่วามแม่นยำ (ช่วงเชื่อมั่นกระชับ) ซึ่งมีผลต่อการศึกษาเนื่องจากถ้าผลการศึกษาพบว่า ช่วงเชื่อมั่นของค่าประมาณของตัวแปรอิสระแต่ละตัวกว้างจะทำให้สรุปผลการศึกษาผิดพลาดหรือไม่สามารถสรุปผลการศึกษาได้เลย ซึ่งอาจเกิดจากขนาดตัวอย่างไม่เพียงพอในการตอบคำถามวิจัย โดยค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณขนาดตัวอย่างจะได้มาจากการศึกษาที่ผ่านมาหรืออาจจะประมาณการจากประสบการณ์หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ โดย Cohen (1988) ได้เสนอแนะระดับความสัมพันธ์เป็น 3 ระดับได้แก่ระดับน้อย ปานกลาง และสูง เมื่อค่า R2 มีค่าเท่ากับ เท่ากับ 0.01, 0.09 และ 0.25 ตามลำดับ หรือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.10, 0.30 และ 0.50 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างงานวิจัยที่นำเสนอในการศึกษาครั้งนี้ คำถามการวิจัยมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางการประมาณค่า ซึ่งการคำนวณขนาดตัวอย่างบนพื้นฐานของการประมาณค่ายังไม่ได้รับการขยายความหรือแพร่หลายมากนัก ดังนั้นบทความนี้จึงได้นำเสนอขั้นตอนและวิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างบนพื้นฐานของการประมาณค่าเพื่อเป็นแนวทางในการนำใช้ประโยชน์ต่อไป . . .
Full text.
|
|
|
|
|
|
Untitled Document
Article Location |
Volume 4 Number 1 |
|
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
|
|
|
Untitled Document
This article is under
this collection.
|
|
|
|
|